วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

13.รูปแบบเทคนิคหรือวิธีการจัดการเรียนการสอน


รูปแบบเทคนิคหรือวิธีการจัดการเรียนการสอน
        
             รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบ่งออกเป็นนวัตกรรมต่างๆ 11 นวัตกรรม ดังนี้

1. นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
          1.1 การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
          1.2 การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
          1.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
          1.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
          1.5 การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
          1.6 การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
          1.7 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)
          1.8 การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
          1.9 การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
          1.10 การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
          1.11 การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
          1.12 การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของราธส์ และไซมอน
          1.13 การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์

2. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา
          2.1 การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
          2.2 การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
          2.3 การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
          2.4การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)

3. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม
          3.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
          3.2 การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
          3.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          3.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
          3.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
          3.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
          3.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
          3.8 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
          3.9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
          3.10 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
          3.11 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
          3.12 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
          3.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)
          3.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)

4. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์
          4.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
          4.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)
          4.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
          4.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
          4.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
          4.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)

5. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา
          5.1 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
          5.2 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา
          5.3 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
          5.4 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
          5.5 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA

6. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ
          6.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
          6.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)
          6.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
          6.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          6.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
          6.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
          6.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)
          6.8 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
          6.9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
          6.10 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model : PCLM)
          6.11 การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
          6.12 การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)
          6.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)

7. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาสมองและการคิด
          7.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
          7.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
          7.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
          7.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
          7.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)

8. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
          8.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
          8.2 การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
          8.3 การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS

9. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ
          9.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
          9.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
          9.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
          9.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
          9.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
          9.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ

10. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์
          10.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
          10.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
          10.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
          10.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
          10.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
          10.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
          10.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ

11. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์
          11.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
          11.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
          11.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
          11.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

          วุฒิศักดิ์ บุญแน่น (https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar) : ได้รวบรวมวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ 21 วิธีดังนี้
1.วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
2.วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
3.  วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing)
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)
6. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
7.  วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
8.  การสอนแบบค้นพบความรู้
9.  วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
10. การสอนแบบปฏิบัติการ
11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
13.การสอนโดยใช้คำถาม
14.  เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )
15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
19. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
20.  วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่   (ดรสาโรช บัวศรี)
21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )


ที่มา

              ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (31 - 33).                                                          กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
วุฒิศักดิ์ บุญแน่น.(2553).https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2561.


12.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

สยุมพร ศรีมุงคุณ  (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ 

ทิศนา แขมมณี  (2554 : 98 – 102)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน ( Slavin ) เดวิด จอห์นสัน ( David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน ( Roger Johnson ) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนมาก จอห์นสัน และจอห์นสัน           ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence )
2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ( face-to-face promotive interaction )
3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน ( individual accountability )
4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (interpersonal
 and small-group skills )
5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม ( group processing )

เลิศชาย  ปานมุข (http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
               การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน  
2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน  
4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  
5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.(2554).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
              เลิศชาย  ปานมุข.(2558). (http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0).  
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561.









11. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

สยุมพร ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   

ทิศนา แขมมณี  (2554 : 96 – 98)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget ) ผู้พัฒนาทฤษฎีคือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert ) แนวความคิดของทฤษฎีคือ ( สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2542 : 1 – 2 ) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองนั่นเอง

เลิศชาย  ปานมุข (http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
               แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองนั่นเอง


ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2553).https://www.gotoknow.org/posts/341272.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.(2554).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
              เลิศชาย  ปานมุข.(2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.









10.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

สยุมพร ศรีมุงคุณ  (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้ เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  
                 เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  
                 บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย


ทิศนา แขมมณี  (2554 : 90 – 94)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้ วีก็อสกี้ ( Vygotsky ) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาในสมัยเดียวกับเพี่ยเจต์ ( Piaget ) ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์และวีก็อทสกี้เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism ) เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม ( assimilation ) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation ) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบ ข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สามารถสัมพันธ์กันได้จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น ( disequilibrium ) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium ) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation )
                ทั้งเพียเจต์และวีก็อทสกี้ นับว่าเป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับ “ cognition ” หรือกระบวนการรู้คิด หรือกระบวนการทางปัญญา นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ อุลริค ไนส์เซอร์ ( Ulrich Neisser )
                เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงจะขอเปรียบเทียบแนวคิดนี้กับแนวคิดของทฤษฎีกลุ่มปรนัยนิยม ( Objectivism ) ซึ่งมีความเห็นว่า โลกนี้มีความรู้ ความจริง ซึ่งเป็นแก่นแท้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง การศึกษาคือการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรู้ ความจริงเหล่านี้
                โจแนสเซน ( Jonassen , 1992 : 138 – 139 ) กล่าวย้ำว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้จะให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ สรุปได้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ “ acting on ” ไม่ใช่ “ taking in ” กล่าวคือ เป็นกระบวนการผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล ไม่ใช่เพียงรับข้อมูลเข้ามา ( Fosnot , 1992 : 171 )

เลิศชาย  ปานมุข(http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้ เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
               พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม ( assimilation ) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation ) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบ ข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สามารถสัมพันธ์กันได้จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น ( disequilibrium ) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium ) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation )

ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.(2554).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
              เลิศชาย  ปานมุข.(2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0.  
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.







9.ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)


ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)  

สยุมพร ศรีมุงคุณ  (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ดังนี้ ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
               1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย   
                                1.1เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
1.2เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)  
1.3สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                                1.4เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                                1.5เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                                1.6เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                                1.7เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                                1.8เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)      
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                 2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

ทิศนา แขมมณี  (2554 : 85 – 89)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ดังนี้ ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ ( Gardner ) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ( HarvardUniversity )ในปี ค.. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “ Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences ” แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ เชาว์ปัญญา เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในปัจจุบัน การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ
                1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่
อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
                2. เชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                เชาว์ปัญญา 8 ด้านตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
                                1. เชาว์ปัญญาด้านภาษา ( linguistic intelligence )
                                2.เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ( logical-mathematical intelligence )
                                3.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ( spatial intelligence )
                                4. เชาว์ปัญญาด้านดนตรี ( musical intelligence )
                                5.เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ( bodily-kines-thetic intelligence )
                                6. เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ( interpersonal intelligence )
                                7. เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง ( intrapersonal intelligence )
                                8. เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ ( naturalist intelligence )

เลิศชาย  ปานมุข  (http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ดังนี้ ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
                1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
                                1.1เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                                1.2เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
                                1.3สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
                                1.4เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                                1.5เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                                1.6เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                                1.7เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                                1.8เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)

 เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
                2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

สรุปทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)  
เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในปัจจุบัน การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ
                1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น มีอยู่
ประเภท
                2. เชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                เชาว์ปัญญา 8 ด้านตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
                                1. เชาว์ปัญญาด้านภาษา  
                                2.เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ  
                                3.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  
                                4. เชาว์ปัญญาด้านดนตรี  
                                5.เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ  
                                6. เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น  
                                7. เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  
                                8. เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ  


ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2553).https://www.gotoknow.org/posts/341272.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.(2554).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
              เลิศชาย  ปานมุข.(2558). (http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0).  
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561.







16.สื่อการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์ กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ   ( http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html )ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนไ...