วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561

16.สื่อการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการสอนคณิตศาสตร์

กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ  (http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html)ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนไว้ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมายชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกันเรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
                A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
                Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University)ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร"Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร


อุไลวรรณ (http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html) ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
                ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
                เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

มณีรัตน์  (http://2maneerat053.blogspot.com/2015/12/blog-post.html) รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
                ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ


ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
                เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

สรุป
สื่อหมายถึง  สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง
ค. วัสดุถาวร ไ
ง. วัสดุสิ้นเปลือง
2.อุปกรณ์
3. กิจกรรม
4.สิ่งแวดล้อม
แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนการผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

ที่มา
กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ.(2559). http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.


วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

15.นวัตกรรมการศึกษา


นวัตกรรมการศึกษา

รัตนพร ทองรอด (https://sites.google.com/site/sghurhoaiykghphgp/extra-credit)ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมไว้ดังนี้  นวัตกรรมหมายถึง ความคิด การปฏิบัติและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม  นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง (Changs) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส ( Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  นวัตกรรมเป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้านต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจ ได้แก่ ความอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่และสมรรถนะหลัก ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่ เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน การแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด การยกระดับคุณภาพชีวิตและการสร้างคุณภาพเพิ่ม
นวัตกรรมในยุคแรก ๆ เกิดจากการคิดค้นใหม่ทั้งหมด แต่นวัตกรรมในยุคใหม่เกิดจากการพัฒนาให้ เป็นชิ้นใหม่ที่มีมูลค่า และสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
นวัตกรรมทางการศึกษา   (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
           

 องค์ประกอบของนวัตกรรม
    1. เป็นสิ่งใหม่
    2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
    3. เป็นประโยชน์ ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
    4. เป็นที่ยอมรับ
    5. มีโอกาสในการพัฒนา
          
 นวัตกรรมมี 4 ประเภท
    1. product innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ
    2. Process innovation : การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน การนำเสนอผลิตภัณฑ์
    3. Position innovation : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า
    4. Paradigm innovation : การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด 
               
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
               นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้ว และที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้าน ต่างๆ ซึ่งจะขอแนะนำนวัตกรรมการศึกษา 5 ประเภทดังนี้
               1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้อง ถิ่น และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ และหลักสูตรท้องถิ่น
               2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
               3. นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการ เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
               4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์
                5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหาร จัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ ฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

    การจำแนกนวัตกรรมตามประเภทของผู้ใช้
1. นวัตกรรมที่เป็นสื่อสำหรับผู้สอน
2. นวัตกรรมที่เป็นสื่อสำหรับผู้เรียน

    จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม
1. เทคนิควิธีการ
2. สื่อการเรียนรู้

    จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผลผลิต
2. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเทคนิค วิธีการ และกระบวนการ
3. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต


กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ  (http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html)ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมไว้ดังนี้   “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
                คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation)
 

จุฑาทิพ ดีละม้าย (http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305)ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรม ไว้ดังนี้  นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย  นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
               นวัตกรรม ในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” 
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1. โปรเเกรม GSP  ย่อมาจาก Geometeržs Sketchpad ยังเป็นของใหม่ในวงการศึกษาไทย แต่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกเขาใช้กันแล้ว โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ หากรวมภาษาไทยด้วยก็ 16 ภาษา   GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส), ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ ) ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด 
 โปรแกรม GSP พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเวอร์ชั่น 4.0 โรงเรียนต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาใช้โปรแกรมนี้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมากที่สุด และในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย  ได้ใช้โปรแกรมนี้อย่างแพร่หลาย ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามในพิธีครองลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ GSP เวอร์ชั่น 4.0  ณ โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร โปรแกรมนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีเวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้างรูป เรขาคณิตจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ อีกทั้งยังทบทวนได้ง่ายและบ่อยขึ้น การสอนด้วยโปรแกรม GSP ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น นอกจากนั้น การใช้ GSP สร้างสื่อการสอนและใบงาน ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศอื่นๆ GSP สามารถสร้าง เกมสนุกๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้มากมาย ดังที่ปรากฏในหนังสือ 101 Project Ideas for The Geometeržs Sketchpad ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ จะได้สนุกกับการสร้างใบหน้าคนจากเส้นโค้ง เส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ที่แสดงอารมณ์ปกติและอารมณ์โกรธ และทดลองสร้างภาพด้วยตัวเอง นอกจากนั้น นักออกแบบโปรแกรม GSP ยังใช้สร้างแผนภาพ รูปร่าง รูปทรงสามมิติได้มากมาย 
                2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและคณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS Word
3. E-Learning   คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น  ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)  คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่าความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

 ข้อดี เเละ ข้อเสียของนวัตกรรมการศึกษา 
ข้อดี
ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
                ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 

ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
 ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
 ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
 ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
ลดเวลาในการสอนน้อยลง
สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

ข้อเสีย
มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้คนคนแก่ตัวมากขึ้น
ทำให้บทบาทเเละความสัมพันธ์ ของผู้สอนเเละผู้เรียนมีน้อยลง
เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น อาจจะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดเเละสติปัญญาน้อยลง

สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษา  (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

  ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

                1. โปรเเกรม GSP
                        2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper  
                        3. E-Learning 

ที่มา
รัตนพร ทองรอด .(2557).  https://sites.google.com/site/sghurhoaiykghphgp/extra-credit .
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ.(2559). http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html.
{ Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
จุฑาทิพ ดีละม้าย.(2558).http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305

                { Online } เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
  

14.รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E )


 รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E )

 รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1.ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่ศึกษา ในกรณีที่ไม่มีประเด็นใดที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอด้วยประเด็นขึ้นมาก่อน  แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
          เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจและนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น อาจรวมทั้งการรับรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2.ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่นทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 
เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ  การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4.ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 
เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5.ขั้นประเมิน (Evaluation) 
เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆการนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งจะก่อให้เกิดประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อไป

ข้อดีและข้อจำกัด
                ข้อดี
                1.ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ แก้ปัญหา และสรุปผลความรู้ด้วยตนเอง
                2.ผู้เรียนได้ฝึการแก้ปัญหา
                3.ส่งเสริมได้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดแก้ปัญหา
                4.สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
                ข้อจำกัด
                1.ใช้เวลามาก
                2.เหมาะกับวิชาที่ให้เหตุผล
                3.ผู้สอนต้องมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าถามคำถาม
                4.สถานการณ์หรือปัญหาที่นำมาเสนอควรมีความเหมาะสม

ตัวอย่างแผนการสอน

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร                                                                      เวลาเรียน  2  ชั่วโมงเรื่อง ปริมาตรของกรวย                                                                                                      เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน : นางสาวอุษา   พัดผล  รหัส5910111204008  คบ.คณิตศาสตร์                        โรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
                มาตรฐานการเรียนรู้
                           มาตรฐานค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งของที่ต้องการวัด
                         มาตรฐานค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
                ตัวชี้วัด
                        ค 2.1 ม.3/2 หาปริมาตร ของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม
                        ค 3.1 ม.3/1 อธิบาย ลักษณะและ สมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และ ทรงกลม

สาระสำคัญ
รูปเรขาคณิตสามมิติ มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง ซึ่งการหาปริมาตรของกรวยทำได้โดยใช้สูตร   1/3   x    πr2h   

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1.อธิบายลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้  (K)
                2.บอกสูตรในการหาปริมาตรของกรวยได้ (K)
                3.คำนวณหาปริมาตรของกรวยได้ (P)
                5. ตระหนักถึงความสำคัญของการหาปริมาตรของกรวยและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ (A)

สาระการเรียนรู้
                ความรู้
กรวย คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง
คุณสมบัติของกรวยมีดังนี้ เป็นรูปทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมและมียอดเป็น                  มุมแหลม 
ส่วนประกอบของกรวย ได้แก่ ฐาน สูงเอียง ส่วนสูง ยอด และแกน
สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ 1/3  x  πr2h   
                ทักษะ
                                ทักษะการอ่าน
                                ทักษะการคิดวิเคราะห์
                                ทักษะการคิดแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                มีวินัย
                                ใฝ่เรียนรู้
                                มุ่งมั่นในการทำงาน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2.ความสามารถในการคิด
ทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการทำงานกลุ่ม   

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                1.1 ผู้สอนถามนักเรียนถึงความหมายและสูตรการหาปริมาตรของทรงกระบอก(ซึ่งความหมายของทรงกระบอกคือรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมทั้งสองด้านส่วนสูตรการหาปริมาตรทรงกระบอกจะได้คำตอบคือ πr2h ) ผู้สอนเสริมต่อว่าวันนี้เราจะมาเรียนกันในเรื่องของการหาปริมาตรกรวย
                1.2ผู้สอนสุ่มถามนักเรียน3-4คนว่าในหมู่บ้านของนักเรียนหรือในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีอะไรบ้าง พบเจออะไรบ้างที่เป็นรูปกรวย (นักเรียนก็จะตอบ สิ่งของต่างๆรอบตัวที่เป็นรูปกรวย เช่น โคนไอศกรีม กรวยจราจร หมวกปาร์ตี้ ปีโป้ ฯลฯ)
                1.3 ผู้สอนฉายสไลด์ภาพส่วนประกอบต่างๆของกรวยที่ด้านบนหน้าจอ จากนั้นนำโมเดลรูปกรวยที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอธิบายเพื่อในนักเรียนเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น ผู้สอนอธิบายพร้อมชี้แต่ละส่วนประกอบจนครบ จากนั้นถามนักเรียนว่า จากส่วนประกอบของกรวยนักเรียนคิดว่า กรวยคืออะไร (จะได้คำตอบที่หลายหลายจากนักเรียน) ผู้สอนสรุปความหมายให้ว่า กรวย (Cone)   คือ  รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐาน  และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง 
                1.4 ผู้สอนนำโมเดลทรงกระบอกและกรวยที่เตรียมไว้ให้นักเรียนดูและสอบถามว่า นักเรียนคิดว่ากรวยและทรงกระบอกนี้มีอะไรที่เท่ากันบ้าง (นักเรียนก็จะตอบว่ามีฐานที่เท่ากัน มีความสูงที่เท่ากันค่ะ/ครับ) จากนั้นจะให้นักเรียนสังเกตกิจกรรมที่ผู้สอนทำคือ ผู้สอนจะใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวเทใสโมเดลทรงกระบอกที่เตรียมไว้ จากนั้นผู้สอนถามนักเรียนว่าสังเกตแล้วได้อะไรบ้าง (นักเรียนจะตอบว่าเราต้องใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวเท่ใส่โมเดลทรงกระบอก3ครั้งถั่วเขียวจะเต็มโมเดลทรงกระบอกพอดี) ก็จะนำไปสู่สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ        ของปริมาตรทรงกระบอก   หรือ     1/3      x  πr2h
2. ขั้นสำรวจค้นคว้า (Exploration)
                2.1ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ5-6คน  (แบ่งโดยคละความสามารถ คือ มีทั้งเด็กเก่ง เด็กปานกลางและเด็กอ่อน) ผู้สอนแจกอุปกรณ์การทำกิจกรรมได้แก่ กาว กรรไกร ถั่วเขียว โมเดลทรงกระบอกโมเดลกรวยและใบงานบันทึกผลกิจกรรม (แจกโมเดลกลุ่มละ 2 ขนาดและแต่ละกลุ่มจะได้ขนาดที่แตกต่างกัน) ให้นักเรียนลองใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวแล้วเทใส่โมเดลทรงกระบอกที่มีฐานและความสูงเท่ากันว่าเป็นจริงเหมือนที่ผู้สอนทำให้ดูหรือไม่  
                2.2ผู้สอนให้นักเรียนบันทึกผลกิจกรรมลงในใบกิจกรรมที่ได้รับ

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
                3.1ผู้สอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปกิจกรรมข้างต้นโดยการถามนักเรียนว่าปริมาตรทรงกระบอกและปริมาตรกรวยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร(จะได้คำตอบที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม)ผู้สอนพูดทวนตามคำตอบที่นักเรียนตอบมาแล้วสรุปกิจกรรมให้ว่า ปริตรของกรวยเป็น1ใน3ของทรงกระบอกหรือปริมาตรของทรงกระบอกเป็น3เท่าของปริมาตรกรวย
คือ  ปริมาตรของกรวย                             =               ของปริมาตรของทรงกระบอก                                                                                                                   =              x พื้นที่ฐาน x สูง         
           =               x πr2h
* เมื่อ     แทน รัศมีของฐานของกรวย
                                แทน ความสูงของกรวย

4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
                4.1ผู้สอน ให้นักเรียนทำโจทย์หาปริมาตรของกรวย 2 ข้อ จากนั้นเฉลยให้นักเรียนดู
ตัวอย่างที่ 1  กรวยกระดาษสำหรับใส่น้ำดื่มสูงประมาณ 9.4 เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางของปากกรวยยาว 7 เซนติเมตร  กรวยใบนี้จุน้ำได้เท่าไร  (กำหนดให้   3.14)
           วิธีทำ   กรวยกระดาษมีรัศมีของปากกรวยยาว 7/2  =  3.5  เซนติเมตร
                        สูงประมาณ  9.4 เซนติเมตร
                                  เนื่องจาก  ปริมาตรของกรวย            =     1/3 ของปริมาตรของทรงกระบอก
                                                                                              =     1/3 x  พื้นที่ฐาน x   สูง    
                                                                                              =     1/3   r2h
                                  ดังนั้น  ปริมาตรของกรวยกระดาษ   =   1/3 x   x (3.5)2 x 9.4
                                                                                                 1/3  x   3.14  x 12.25  x 9.4
                                                                                                 120.5  ลูกบาศก์เซนติเมตร
           นั่นคือ  กรวยกระดาษใบนี้จุน้ำได้ประมาณ  120.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร 

ตัวอย่างที่ 2  กรวยฐานรูปวงกลมรัศมี 12 เซนติเมตร  สูงเอียง 20 เซนติเมตร  จะมีปริมาตรเท่าไร
           วิธีทำ  หาความสูงตรงของกรวย
                       จากรูปใช้ทฤษฎีบทปีทาโกรัส   AB2  =    AC2 - BC2
                                                                                       =    202   -   122
                                                                                       =    256
                                                                             AB    =    16   เซนติเมตร
                       แทนค่าหาปริมาตร
ปริมาตรกรวย =   x ปริมาตรทรงกระบอก
                                                        =    1/3 x พื้นที่ฐาน  x  สูง
                                                        =     1/3πr2h
                                                        =    1/3 x 3.14 x 122 x 16
                                                           2,411.52
           ดังนั้น          กรวยมีปริมาตร  2,411.52 ลูกบาศก์เซนติเมตร

5. ขั้นประเมินผล (Evaluation)
               5.1ผู้สอนให้นักเรียนร่วมกันสรุปและอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของกรวย คุณสมบัติของกรวย ส่วนประกอบของกรวยและสูตรการหาปริมาตรของกรวย โดยถามนักเรียนว่า กรวยคืออะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้างและมีสูตรการหาปริมาตรว่าอย่างไร  กรวย (Cone) คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง  มีคุณสมบัติคือ เป็นรูปทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมและมียอดเป็นมุมแหลม
ส่วนประกอบของกรวยได้แก่  แกน ,  สูงเอียง ,  ยอด , ฐานและส่วนสูง
สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ        ของปริมาตรของทรงกระบอก  หรือ      1/3 x πr2h
                5.2ผู้สอนแจกใบงานเรื่องกรวยให้นักเรียนทำมาส่งในคาบต่อไป และแจกใบความรู้ที่เป็นความรู้ในเรื่องกรวยและความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนกลับทบทวน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
สื่อการสอน
ใบความรู้ “ การหาปริมาตรกรวย ”
power point ส่วนประกอบของกรวยและตัวอย่างการหาปริมาตรกรวย
ใบงาน “ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรทรงกระบอกและปริมาตรกรวย ”
ใบงาน “ กรวย ”
กาว กรรไกร ถั่วเขียว โมเดลทรงกระบอกและโมเดลกรวย
แหล่งเรียนรู้
หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ห้องสมุดโรงเรียน
คุณครู
 เพื่อนนักเรียน
การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือที่ใช้การวัด
เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้
การถาม – ตอบ
คำถามและใบงาน
บอกลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้ถูกต้อง
นักเรียนบอกสูตรในการหาปริมาตรของกรวยได้
การถาม – ตอบ
การทำใบงาน
คำถามและใบงาน
บอกสูตรการหาปริมาตรของกรวยได้ถูกต้อง
นักเรียนสามารถคำนวณหาปริมาตรของกรวยได้
การทำใบงาน
ใบงาน
ต้องมากกว่า 80 %
นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการหาปริมาตรของกรวยและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
การสังเกต
ทำงานที่ได้รับมอบหมายครบถ้วน ส่งงานตรงต่อเวลา เข้าเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจเรียน
ต้องมากกว่า 80 %
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็น
การประเมิน
ระดับคุณภาพ
4
3
2
1
1.การตอบคำถามและการให้ความร่วมมือ
-ตอบคำถามถูกต้อง ตรงประเด็นหรือแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
-ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นบางครั้ง
-ไม่ค่อยตอบคำถามหรือแสดความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ไม่ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆและไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
2.การทำใบงาน
ถูกต้อง 80% ขึ้นไป
ถูกต้อง 60 - 79%
ถูกต้อง 50 - 69%
ถูกต้อง 40 - 59%
3. มีวินัย/ใฝ่เรียนรู้/มุ่งมั่นในการทางาน

-ส่งงานตรงต่อเวลา
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา ไม่มาเรียนสาย
-ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบอยู่สม่ำเสมอ
-ส่งงานตรงต่อเวลา
- เข้าเรียนสายบางครั้ง
-ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบบางครั้ง
-ส่งงานไม่ตรงเวลา
- เข้าเรียนสายบางครั้ง
-ไม่ค่อยปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบ
-ไม่ส่งงาน
- เข้าเรียนสายเป็นประจำ
-ไม่ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบ

เกณฑ์การตัดสิน
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
12-10 คะแนน
ดีมาก
7-9 คะแนน
ดี
4-6 คะแนน
พอใช้
ต่ำกว่า 4 คะแนน
ปรับปรุง

บันทึกผลการเรียนรู้
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………….....................................
  

ที่มา
ศุภวรรณ เล็กวิไล.(2561).การจัดการเรียนรู้
ทูลตะวัน  ภาษีธรรม.(2561).การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้5E.https://www.gotoknow.org
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2561   
ชัยชนม์   หลักทอง.(2561).รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้5E.       
https://sites.google.com/a/kkumail.com  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2561   

16.สื่อการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์ กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ   ( http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html )ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนไ...