วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

14.รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E )


 รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E )

 รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1.ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่ศึกษา ในกรณีที่ไม่มีประเด็นใดที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอด้วยประเด็นขึ้นมาก่อน  แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
          เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจและนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น อาจรวมทั้งการรับรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2.ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่นทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 
เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ  การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4.ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 
เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5.ขั้นประเมิน (Evaluation) 
เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆการนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งจะก่อให้เกิดประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อไป

ข้อดีและข้อจำกัด
                ข้อดี
                1.ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ แก้ปัญหา และสรุปผลความรู้ด้วยตนเอง
                2.ผู้เรียนได้ฝึการแก้ปัญหา
                3.ส่งเสริมได้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดแก้ปัญหา
                4.สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
                ข้อจำกัด
                1.ใช้เวลามาก
                2.เหมาะกับวิชาที่ให้เหตุผล
                3.ผู้สอนต้องมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าถามคำถาม
                4.สถานการณ์หรือปัญหาที่นำมาเสนอควรมีความเหมาะสม

ตัวอย่างแผนการสอน

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร                                                                      เวลาเรียน  2  ชั่วโมงเรื่อง ปริมาตรของกรวย                                                                                                      เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน : นางสาวอุษา   พัดผล  รหัส5910111204008  คบ.คณิตศาสตร์                        โรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
                มาตรฐานการเรียนรู้
                           มาตรฐานค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งของที่ต้องการวัด
                         มาตรฐานค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
                ตัวชี้วัด
                        ค 2.1 ม.3/2 หาปริมาตร ของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม
                        ค 3.1 ม.3/1 อธิบาย ลักษณะและ สมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และ ทรงกลม

สาระสำคัญ
รูปเรขาคณิตสามมิติ มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง ซึ่งการหาปริมาตรของกรวยทำได้โดยใช้สูตร   1/3   x    πr2h   

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1.อธิบายลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้  (K)
                2.บอกสูตรในการหาปริมาตรของกรวยได้ (K)
                3.คำนวณหาปริมาตรของกรวยได้ (P)
                5. ตระหนักถึงความสำคัญของการหาปริมาตรของกรวยและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ (A)

สาระการเรียนรู้
                ความรู้
กรวย คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง
คุณสมบัติของกรวยมีดังนี้ เป็นรูปทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมและมียอดเป็น                  มุมแหลม 
ส่วนประกอบของกรวย ได้แก่ ฐาน สูงเอียง ส่วนสูง ยอด และแกน
สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ 1/3  x  πr2h   
                ทักษะ
                                ทักษะการอ่าน
                                ทักษะการคิดวิเคราะห์
                                ทักษะการคิดแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                มีวินัย
                                ใฝ่เรียนรู้
                                มุ่งมั่นในการทำงาน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2.ความสามารถในการคิด
ทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการทำงานกลุ่ม   

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                1.1 ผู้สอนถามนักเรียนถึงความหมายและสูตรการหาปริมาตรของทรงกระบอก(ซึ่งความหมายของทรงกระบอกคือรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมทั้งสองด้านส่วนสูตรการหาปริมาตรทรงกระบอกจะได้คำตอบคือ πr2h ) ผู้สอนเสริมต่อว่าวันนี้เราจะมาเรียนกันในเรื่องของการหาปริมาตรกรวย
                1.2ผู้สอนสุ่มถามนักเรียน3-4คนว่าในหมู่บ้านของนักเรียนหรือในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีอะไรบ้าง พบเจออะไรบ้างที่เป็นรูปกรวย (นักเรียนก็จะตอบ สิ่งของต่างๆรอบตัวที่เป็นรูปกรวย เช่น โคนไอศกรีม กรวยจราจร หมวกปาร์ตี้ ปีโป้ ฯลฯ)
                1.3 ผู้สอนฉายสไลด์ภาพส่วนประกอบต่างๆของกรวยที่ด้านบนหน้าจอ จากนั้นนำโมเดลรูปกรวยที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอธิบายเพื่อในนักเรียนเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น ผู้สอนอธิบายพร้อมชี้แต่ละส่วนประกอบจนครบ จากนั้นถามนักเรียนว่า จากส่วนประกอบของกรวยนักเรียนคิดว่า กรวยคืออะไร (จะได้คำตอบที่หลายหลายจากนักเรียน) ผู้สอนสรุปความหมายให้ว่า กรวย (Cone)   คือ  รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐาน  และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง 
                1.4 ผู้สอนนำโมเดลทรงกระบอกและกรวยที่เตรียมไว้ให้นักเรียนดูและสอบถามว่า นักเรียนคิดว่ากรวยและทรงกระบอกนี้มีอะไรที่เท่ากันบ้าง (นักเรียนก็จะตอบว่ามีฐานที่เท่ากัน มีความสูงที่เท่ากันค่ะ/ครับ) จากนั้นจะให้นักเรียนสังเกตกิจกรรมที่ผู้สอนทำคือ ผู้สอนจะใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวเทใสโมเดลทรงกระบอกที่เตรียมไว้ จากนั้นผู้สอนถามนักเรียนว่าสังเกตแล้วได้อะไรบ้าง (นักเรียนจะตอบว่าเราต้องใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวเท่ใส่โมเดลทรงกระบอก3ครั้งถั่วเขียวจะเต็มโมเดลทรงกระบอกพอดี) ก็จะนำไปสู่สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ        ของปริมาตรทรงกระบอก   หรือ     1/3      x  πr2h
2. ขั้นสำรวจค้นคว้า (Exploration)
                2.1ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ5-6คน  (แบ่งโดยคละความสามารถ คือ มีทั้งเด็กเก่ง เด็กปานกลางและเด็กอ่อน) ผู้สอนแจกอุปกรณ์การทำกิจกรรมได้แก่ กาว กรรไกร ถั่วเขียว โมเดลทรงกระบอกโมเดลกรวยและใบงานบันทึกผลกิจกรรม (แจกโมเดลกลุ่มละ 2 ขนาดและแต่ละกลุ่มจะได้ขนาดที่แตกต่างกัน) ให้นักเรียนลองใช้โมเดลกรวยตวงถั่วเขียวแล้วเทใส่โมเดลทรงกระบอกที่มีฐานและความสูงเท่ากันว่าเป็นจริงเหมือนที่ผู้สอนทำให้ดูหรือไม่  
                2.2ผู้สอนให้นักเรียนบันทึกผลกิจกรรมลงในใบกิจกรรมที่ได้รับ

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
                3.1ผู้สอนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปกิจกรรมข้างต้นโดยการถามนักเรียนว่าปริมาตรทรงกระบอกและปริมาตรกรวยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร(จะได้คำตอบที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม)ผู้สอนพูดทวนตามคำตอบที่นักเรียนตอบมาแล้วสรุปกิจกรรมให้ว่า ปริตรของกรวยเป็น1ใน3ของทรงกระบอกหรือปริมาตรของทรงกระบอกเป็น3เท่าของปริมาตรกรวย
คือ  ปริมาตรของกรวย                             =               ของปริมาตรของทรงกระบอก                                                                                                                   =              x พื้นที่ฐาน x สูง         
           =               x πr2h
* เมื่อ     แทน รัศมีของฐานของกรวย
                                แทน ความสูงของกรวย

4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
                4.1ผู้สอน ให้นักเรียนทำโจทย์หาปริมาตรของกรวย 2 ข้อ จากนั้นเฉลยให้นักเรียนดู
ตัวอย่างที่ 1  กรวยกระดาษสำหรับใส่น้ำดื่มสูงประมาณ 9.4 เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางของปากกรวยยาว 7 เซนติเมตร  กรวยใบนี้จุน้ำได้เท่าไร  (กำหนดให้   3.14)
           วิธีทำ   กรวยกระดาษมีรัศมีของปากกรวยยาว 7/2  =  3.5  เซนติเมตร
                        สูงประมาณ  9.4 เซนติเมตร
                                  เนื่องจาก  ปริมาตรของกรวย            =     1/3 ของปริมาตรของทรงกระบอก
                                                                                              =     1/3 x  พื้นที่ฐาน x   สูง    
                                                                                              =     1/3   r2h
                                  ดังนั้น  ปริมาตรของกรวยกระดาษ   =   1/3 x   x (3.5)2 x 9.4
                                                                                                 1/3  x   3.14  x 12.25  x 9.4
                                                                                                 120.5  ลูกบาศก์เซนติเมตร
           นั่นคือ  กรวยกระดาษใบนี้จุน้ำได้ประมาณ  120.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร 

ตัวอย่างที่ 2  กรวยฐานรูปวงกลมรัศมี 12 เซนติเมตร  สูงเอียง 20 เซนติเมตร  จะมีปริมาตรเท่าไร
           วิธีทำ  หาความสูงตรงของกรวย
                       จากรูปใช้ทฤษฎีบทปีทาโกรัส   AB2  =    AC2 - BC2
                                                                                       =    202   -   122
                                                                                       =    256
                                                                             AB    =    16   เซนติเมตร
                       แทนค่าหาปริมาตร
ปริมาตรกรวย =   x ปริมาตรทรงกระบอก
                                                        =    1/3 x พื้นที่ฐาน  x  สูง
                                                        =     1/3πr2h
                                                        =    1/3 x 3.14 x 122 x 16
                                                           2,411.52
           ดังนั้น          กรวยมีปริมาตร  2,411.52 ลูกบาศก์เซนติเมตร

5. ขั้นประเมินผล (Evaluation)
               5.1ผู้สอนให้นักเรียนร่วมกันสรุปและอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของกรวย คุณสมบัติของกรวย ส่วนประกอบของกรวยและสูตรการหาปริมาตรของกรวย โดยถามนักเรียนว่า กรวยคืออะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้างและมีสูตรการหาปริมาตรว่าอย่างไร  กรวย (Cone) คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม  มียอดแหลมที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกันกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆบนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง  มีคุณสมบัติคือ เป็นรูปทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลมและมียอดเป็นมุมแหลม
ส่วนประกอบของกรวยได้แก่  แกน ,  สูงเอียง ,  ยอด , ฐานและส่วนสูง
สูตรการหาปริมาตรของกรวย คือ        ของปริมาตรของทรงกระบอก  หรือ      1/3 x πr2h
                5.2ผู้สอนแจกใบงานเรื่องกรวยให้นักเรียนทำมาส่งในคาบต่อไป และแจกใบความรู้ที่เป็นความรู้ในเรื่องกรวยและความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนกลับทบทวน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
สื่อการสอน
ใบความรู้ “ การหาปริมาตรกรวย ”
power point ส่วนประกอบของกรวยและตัวอย่างการหาปริมาตรกรวย
ใบงาน “ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรทรงกระบอกและปริมาตรกรวย ”
ใบงาน “ กรวย ”
กาว กรรไกร ถั่วเขียว โมเดลทรงกระบอกและโมเดลกรวย
แหล่งเรียนรู้
หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ห้องสมุดโรงเรียน
คุณครู
 เพื่อนนักเรียน
การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือที่ใช้การวัด
เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้
การถาม – ตอบ
คำถามและใบงาน
บอกลักษณะหรือส่วนประกอบของกรวยได้ถูกต้อง
นักเรียนบอกสูตรในการหาปริมาตรของกรวยได้
การถาม – ตอบ
การทำใบงาน
คำถามและใบงาน
บอกสูตรการหาปริมาตรของกรวยได้ถูกต้อง
นักเรียนสามารถคำนวณหาปริมาตรของกรวยได้
การทำใบงาน
ใบงาน
ต้องมากกว่า 80 %
นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการหาปริมาตรของกรวยและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
การสังเกต
ทำงานที่ได้รับมอบหมายครบถ้วน ส่งงานตรงต่อเวลา เข้าเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจเรียน
ต้องมากกว่า 80 %
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็น
การประเมิน
ระดับคุณภาพ
4
3
2
1
1.การตอบคำถามและการให้ความร่วมมือ
-ตอบคำถามถูกต้อง ตรงประเด็นหรือแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
-ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นบางครั้ง
-ไม่ค่อยตอบคำถามหรือแสดความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ไม่ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆและไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
2.การทำใบงาน
ถูกต้อง 80% ขึ้นไป
ถูกต้อง 60 - 79%
ถูกต้อง 50 - 69%
ถูกต้อง 40 - 59%
3. มีวินัย/ใฝ่เรียนรู้/มุ่งมั่นในการทางาน

-ส่งงานตรงต่อเวลา
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา ไม่มาเรียนสาย
-ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบอยู่สม่ำเสมอ
-ส่งงานตรงต่อเวลา
- เข้าเรียนสายบางครั้ง
-ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบบางครั้ง
-ส่งงานไม่ตรงเวลา
- เข้าเรียนสายบางครั้ง
-ไม่ค่อยปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบ
-ไม่ส่งงาน
- เข้าเรียนสายเป็นประจำ
-ไม่ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบ

เกณฑ์การตัดสิน
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
12-10 คะแนน
ดีมาก
7-9 คะแนน
ดี
4-6 คะแนน
พอใช้
ต่ำกว่า 4 คะแนน
ปรับปรุง

บันทึกผลการเรียนรู้
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………….....................................
  

ที่มา
ศุภวรรณ เล็กวิไล.(2561).การจัดการเรียนรู้
ทูลตะวัน  ภาษีธรรม.(2561).การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้5E.https://www.gotoknow.org
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2561   
ชัยชนม์   หลักทอง.(2561).รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้5E.       
https://sites.google.com/a/kkumail.com  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2561   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

16.สื่อการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์ กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ   ( http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html )ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนไ...